office syndrome ออฟฟิศซินโดรม

Services Information

ใครจะคิดว่าพอเข้าสู่ช่วงวัยทำงานแล้วจะต้องมานั่งหาวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรม และหนึ่งในพรที่ใครก็อยากได้ยิ่งกว่ามงคลชีวิต คือ “การไม่ปวดหลังเป็นลาภอันประเสริฐ” แต่อย่างไรแล้วก็ยากที่จะเลี่ยง เพราะ ‘อาการออฟฟิศซินโดรม’ ใคร ๆ ก็มีสิทธิ์เป็น ไม่ว่าจะอาชีพไหน ระดับเงินเดือนเท่าไหร่ก็ตาม


‘ออฟฟิศซินโดรม’ โรคประจำของวัยทำงาน มักเกิดจากรูปแบบหรือพฤติกรรมที่ทำซ้ำ ๆ กันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อในจุดที่ใช้บ่อย เช่น นั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ จะปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ การเล่นเกมใช้คีย์บอร์ดและคลิกเมาส์บ่อยอาจเกิดบริเวณข้อมือ ซึ่งตัวอย่างที่กล่าวมานี้ไม่เพียงแต่เกิดกับมนุษย์ออฟฟิศเท่านั้น ชาวสวน พนักงานโรงงาน หรืออาชีพที่มีพฤติกรรมใช้กล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ในจุดเดิมก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน


เช็กอาการออฟฟิศซินโดมด้วยตั noวเองง่าย ๆ

  • ปวดกกล้ามเนื้อหรือปวดเรื้อรัง บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง 

  • ปวดศีรษะเรื้อรัง ซึ่งอาจมีอาการปวดตาร่วมด้วย 

  • ปวดข้อมือ มือชา หรือนิ้วล็อก


    รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีไหนดี ? 


    1. ทานยาช่วยบรรเทา ในกรณีที่อาการยังไม่เรื้อรังมากการรับประทานยาสามารถช่วยรักษาได้ โดยได้ผลดีกับอาการเริ่มต้น ซึ่งบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยา ดังนี้ 

    • ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น ออร์เฟเนดรีน โทลเพอริโซน 

    • ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบรูโพรเฟน

    • ยาแก้ปวดที่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น พาราเซตามอล

        ทั้งนี้ก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อรับยาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับเฉพาะบุคคล


    1. ฝังเข็มเฉพาะจุด เป็นการรักษาออฟฟิศซินโดรมโดยฝังเข็มในบริเวณที่ปวด ซึ่งเรามักเห็นกันบ่อย ๆ คือ การฝังเข็มลดปวดหลัง วิธีนี้ช่วยคลายตัวกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้อาการปวดบรรเทาลง และยังลดโอกาสการเกิดออฟฟิศซินโดรมซ้ำอีกด้วย  


    1. บำบัดด้วย Shock Wave วิธีรักษายอดนิยมโดยการใช้เครื่อง Shock Wave ปล่อยพลังงานในรูปแบบคลื่นกระแทกไปยังบริเวณที่ปวด ซึ่งช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บเรื้อรัง ลดอาการอักเสบหรือปวดเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรักษาได้หลายจุด อาทิ คอ บ่า ไหล่ หลัง รวมถึงส้นเท้าด้วย


    1. สลายปวดด้วย Tesla Former เป็นการรักษาออฟฟิศซินโดรมเหมาะสำหรับใครที่ชอบความรวดเร็วไม่ใช้เวลานาน แต่ให้ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพ

    • เป็นการรักษาโดยใช้แผ่นปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าติดบริเวณที่ปวด โดยสามารถนั่งทำการรักษาอย่างสบาย ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก

    • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเข้าไปกระตุ้นระบบประสาทในส่วนของกล้ามเนื้อ ซึ่งส่งผลให้หายปวดในบริเวณที่เกิดออฟฟิศซินโดรม 

    • ช่วยรักษาอาการปวดและสลายพังผืดที่มักเกิดกับอาการเรื้อรัง สามารถรักษาได้หลายจุด เช่น หลัง เอว บ่า สะบัก และไหล่ 

    • ใช้เวลารักษาเพียงแค่ 15 นาที และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ควรรักษาสัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง โดยรักษาประมาณ 5 ครั้ง สามารถช่วยรักษาออฟฟิศซินโดรมพร้อมลดการเกิดซ้ำได้


      ป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดออฟฟิศซินโดรมซ้ำรอย ?

      • ขยับนิดก็ช่วยได้ ออกไปยืดเส้นยืดสายขยับร่างกายบ้างนอกเหนือจากการนั่งในท่าเดิมนาน ๆ

      • นั่งทำงานอย่างถูกต้อง โดยนั่งหลังตรง ปรับความสูงเก้าอี้ให้พอดีกับระดับแขนที่วางบนโต๊ะ

      • พักสายตาบ่อย ๆ โดยมองวิวในระยะไกลหรือผ่อนคลายสายตาด้วยสีเขียวจากต้นไม้

      • ออกกำลังกายคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้


      ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักงานองค์การอาหารและยา